แหล่งท่องทางธรรมชาติ ได้แก่
กว๊านพะเยา
เกิดจาการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้วเป็นแอ่งน้ำซึ่งเป็นที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ 18 สาย ต่อมาในปี 2478 กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้น บริเวณ ต้นแม่น้ำอิงและสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร คำว่า "บึง" ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า "กว๊าน"
กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา คือเป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก
สวนสาธารณะดงหอ
เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อคำปวนซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวตำบลหนองหล่มรวมทั้งตำนานช้างปู้ก่ำงาเขียวและมีซากปรักหักพังบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ของตำบลหนองหล่มจึงทำให้สถานที่ดงหอเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์จึงไม่มีใครกล้าลบหลู่
ช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะมีงานบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อคำปวนและสืบชะตาแม่น้ำ เพื่อให้ชาวตำบลหนองหล่มได้สำนึกบุญคุณของน้ำที่ใช้ตลอดปี
น้ำตกธารสวรรค์
เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลางที่เกิดจากลำห้วยสองสบ ห้วยโป่ง ห้วยอูน และตาน้ำบ่อเบี้ย ไหลลงมารวมกันเป็นห้วยแม่ปั๋ง และตกจากหน้าผาลงมาเป็นน้ำตกธารสวรรค์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ประมาณ 300 เมตร มีความสูงประมาณ 20 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร เป็นน้ำตกสองชั้น มีน้ำไหลตลอดปี เสน่ห์ของน้ำตกธารสวรรค์อยู่ตรงที่บรรยากาศกลางแมกไม้ขนาดใหญ่เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจและน้ำมีสีเขียวมรกตสวยงาม น้ำจากน้ำตกไหลผ่านหมู่บ้านที่ตั้งอยู่โดยรอบอุทยานฯ ทำให้ชาวบ้านมีน้ำทำการเกษตร อุปโภค-บริโภค และไหลลงไปสู่แม่น้ำยม ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ
วนอุทยานแห่งชาติภูซาง
อุทยานแห่งชาติภูซาง อยู่ในเขตอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีอาณาเขตติดต่อประเทศลาว และเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
น้ำตกภูซาง เป็นน้ำตกชั้นเดียว ซึ่งตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างสูงประมาณ 25 เมตร น้ำตกภูซางเป็นน้ำตกที่เป็นกระแสน้ำอุ่น มีอุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียส
เต่าปูลู เป็นเต่าที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือตอนบนและแนวเขตติดต่อกับประเทศพม่าและจีนตอนใต้ลักษณะเฉพาะตัวคือเตี้ย กระดองสีเขียวเข้มถึงดำยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ที่เด่นคือ หางเป็นปล้องยาวกว่ากระดอง หดตัว ขาและหางไม่ได้สามารถปีนป่ายได้เก่ง โดยอาศัยเล็บและหางช่วยยัน เต่าปูลูออกหากินเวลากลางคืน บริโภคกุ้ง หอย ปู ปลา ไม่ชอบบริโภคพืช กลางวันมักหลบอยู่ตามซอกหินเย็น ๆ หน้าหนาวจำศีลเหมือนกบ วางไข่ช่วงปลายเดือนเมษายน ครั้งละ 3-4 ฟอง
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ได้แก่
วัดศรีโคมคำ (วัดพระเจ้าตนหลวง)
วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ภายวนประดิษฐานพระเจ้าตนหลวงซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร สูง ๑๘ เมตร สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๖๗ พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเดือนแปดเป็ง นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยาภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม
หอวัฒนธรรมนิทัศน์
หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ เป็นสถานที่จัดแสดงงานด้านวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยา โดยมีสโลแกนว่า "มาที่เดียว เที่ยวได้ทั้งจังหวัด"
หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำนี้ เป็นสถานที่ของวัด โดยมีพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นผู้ให้กำเนิด และเป็นผู้อำนวยการ จัดสร้างและเปิดทำการเมือวันที่ 18 มกราคม 2539 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเปิดงานอย่างเป็นทางการ
วัดอนาลโยทิพยาราม
"วัดอนาลโยทิพยาราม" อยู่บนดอยบุษราคัม ต.สันป่าม่วง เป็นอุทยานพระพุทธศาสนา มีศาสนสถานที่สวยงามมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ประตูทางเข้าราวบันได ลวดลายแกะสลักรูปปั้น พระพุทธรูปเป็นศิลปะที่งดงามแบบสุโขทัยและล้านนา ทั้งเจ้าแม่กวนอิม พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลี พระพุทธรูปปางนาคปรก องค์พระแก้วบุษราคัม พระเจดีย์ พุทธคยา จำลองแบบมาจากอินเดีย เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หอพระแก้วมรกตจำลองสามารถมองเห็นวิวเมืองพระเยาและกว๊านพระเยาสุดสายตา นอกจากนี้วัดอนาลโยทิพยรามยังเป็นวัดประจำปีเกิดของผู้เกิดปีมะเส็งได้แวะมาสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคงยิ่งอีกด้วย
วัดพระนั่งดิน
วัดพระนั่งดิน อัศจรรย์อันซีนไทยแลนด์ ตั้งอยู่ ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มี ฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานรองรับเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน นอกจากนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้าน ได้พากันสร้างฐานชุกชีแล้วได้อันเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าได้ผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครา พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบจนทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น